ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยง

  • หมายถึง เหตุการณ์ / การกระทำใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน และจะส่งผลกระทบสร้างความเสียหายก่อให้เกิดความล้มเหลว หรือลดโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายตามภารกิจหลักของโรงพยาบาล
  • หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ หรือเหตุการณ์ที่ไม่ปกติใดๆ ที่เกิดขึ้น และก่อให้เกิดผลที่ไม่ต้องการ อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย ชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม
  • คือ อุบัติการณ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย ครอบคลุมถึงการเกิดโรค ภาวะแทรกซ้อน การบาดเจ็บ ความทุกข์ทรมาน ความพิการ และการเสียชีวิต และอาจจะเป็นอันตรายทางด้านสังคม หรือจิตใจ
  • คือ ความเสี่ยงที่เฝ้าระวังเป็นพิเศษหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตหรืออันตรายขั้นรุนแรง ที่ต้องตื่นตัว ใส่ใจ ให้ความสำคัญสูง
  • คือ การกระทำหรือละเว้นการกระทำซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย แต่ไม่เกิดอันตรายเนื่องจากความบังเอิญ การป้องกัน หรือการทำให้ปัญหาทุเลาลง
  • คือคุณลักษณะขององค์กรในด้านความปลอดภัยดังนี้
    (1) การรับรู้ถึงธรรมชาติขององค์กรที่มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสเกิดความผิดพลั้ง
    (2) ลักษณะองค์กรที่ไม่มีการตำหนิกัน บุคลากรสามารถรายงานความผิดพลั้ง โดยไม่ต้องหวาดกลัวว่าจะถูกลงโทษ
    (3) มีความร่วมมือกันอย่างกว้างขวางเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ
    (4) ความเต็มใจขององค์กรที่จะสนับสนุนทรัพยากรเพื่อความปลอดภัย

ประเภทความเสี่ยง/อุบัติการณ์

คือความเสี่ยงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบริหาร เช่น คน เงิน สิ่งของ/กายภาพ ข้อมูลข่าวสาร ระบบงาน ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้ว ส่งผลให้เกิดการเสียทรัพย์สิน ได้รับบาดเจ็บทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ เสื่อมเสียชื่อเสียง เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินทั้งต่อผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ประกอบไปด้วย
    อาคารสถานที่สิ่งแวดล้อม
    เครื่องมือ/อุปกรณ์
    การติดต่อสื่อสาร
    ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
    การบันทึก/การเก็บหลักฐานเอกสารสำคัญ
    ความพร้อมในการให้บริการ
    สิทธิผู้ป่วยและจริยธรรมองค์กร
    ความพึงพอใจของผู้ป่วย/ญาติ/ผู้รับบริการ
    อื่นๆ ที่ไม่สามารถจัดหมวดหมู่ได้อื่นๆ ที่ไม่สามารถจัดหมวดหมู่ได้
คือความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มต้นการซักประวัติทางการแพทย์ การปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติวิชาชีพทางการแพทย์หรือคลินิก ความคลาดเคลื่อนทางยาที่กระทำหรือมีผลให้ผู้ป่วยได้รับอันตราย บาดเจ็บ ต้องได้รับการรักษาเพิ่ม หรือถึงแก่ชีวิต ซึ่งอาจมีปัจจัยสาเหตุที่มีความเกี่ยวข้องกับการให้การรักษาที่ไม่ถูกต้อง เหมาะสม ไม่เป็นไปตามแผนการรักษา ประกอบไปด้วย
    การวินิจฉัย/การรักษา/ทำหัตถการ
    การป้องกันการติดเชื้อ
    โรค/ ภาวะไม่พึงประสงค์ของคลินิก
    ความคลาดเคลื่อนทางยา
    การส่งตรวจวินิจฉัย X-ray
    อื่นๆ ที่ไม่สามารถจัดหมวดหมู่ได้

ระดับความรุนแรงของการเกิดอุบัติการณ์/ความเสี่ยงทั่วไป แบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้

  • ไม่ส่งผลกระทบ และยังไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
  • ส่งผลกระทบเล็กน้อย แต่ยังไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
  • ส่งผลกระทบ เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน
  • ส่งผลกระทบ เกิดความเสียหายต่อบุคคล*
  • ส่งผลกระทบ เกิดความเสียหายต่อองค์กร หรือ ชื่อเสียงของโรงพยาบาล
  • *บุคคล หมายถึง ผู้ป่วย, ผู้ใช้บริการ, ผู้มาติดต่อโรงพยาบาล หรือ เจ้าหน้าที่ และเกิดความเสียหายทางด้านร่างกาย จิตใจ ทรัพย์สิน และค่าใช้จ่าย

ระดับความรุนแรงของการเกิดอุบัติการณ์/ความเสี่ยงทางคลินิก แบ่งเป็น 9 ระดับ ดังนี้

  • ดักจับได้
  • เกิดขึ้นไม่ถึงตัวผู้ป่วย
  • ถึงตัวผู้ป่วยแต่ไม่ได้รับอันตราย
  • ต้องคอยเฝ้าระวัง
  • ต้องมีการรักษาหรือแก้ไขเพิ่มเติม
  • ต้องนอนรพ./นอนรพ.นานขึ้น
  • เกิดความพิการถาวร
  • อันตรายเกือบเสียชีวิต
  • เสียชีวิต

รายการความเสี่ยงที่ค้นหาได้ อาจรวบรวมไว้ในบัญชีรายการความเสี่ยงของหน่วยงานหรือตารางเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ความสำคัญของความเสี่ยง อาจจัดหมวดหมู่ของความเสี่ยงเพื่อจะได้ค้นหาได้ครอบคลุม เช่น ด้านอันตรายต่อผู้ป่วย ด้านอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านข้อมูลข่าวสาร




การจัดการความเสี่ยงก่อนเกิดเหตุ

โดยรายการความเสี่ยงที่มีระดับความสำคัญสูง และปานกลาง ต้องมีแผนการจัดการความเสี่ยง ทุกรายการ

1) หลีกเลี่ยงความเสี่ยง
2) ถ่ายโอนความเสี่ยง
3) การแบ่งแยกความเสี่ยง
4) การป้องกันความเสี่ยง
   - การปกป้อง การใช้เครื่องป้องกัน
   - การมีระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกันและมาตรฐานเกี่ยวกับเครื่องมือ
   - การมีระเบียบปฏิบัติและวิธีปฏิบัติในการทำงาน
   - การควบคุมกำกับ
   - การให้ความรู้ ทักษะแก่เจ้าหน้าที่

1) แนวทางป้องกัน การจัดระบบป้องกันความผิดพลาด
   - การเตรียมคน
   - การเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือ
   - การเตรียมข้อมูลข่าวสาร
   - วิธีปฏิบัติงานที่รัดกุม
   - การควบคุมกระบวนการ
2) แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดปัญหา
   - การตรวจพบปัญหา จะตรวจพบปัญหาให้เร็วที่สุดได้อย่างไร โดยใคร เป็นการจัดการวิธีค้นหาความผิดพลาดเหล่านั้นให้ปรากฏเพื่อเราจะได้หยุดได้ทัน
   - การลดความเสียหาย จะแก้ปัญหาอย่างไร โดยใคร เป็นการจัดระบบที่ลดความรุนแรงของความเสียหายเมื่อความผิดพลาดดังกล่าวไม่สามารถหยุดได้ทัน
   - การรายงาน ควรรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงระดับใด วิธีใด

การจัดการความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุ

- เมื่อสถานการณ์ความเสี่ยงเกิดขึ้น ให้ผู้ประสบเหตุ เข้าระงับเหตุทันที ถ้าไม่สามารถระงับเหตุได้ แจ้งหัวหน้าหน่วยงานทันที เฉพาะเหตุที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ให้แจ้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยทันที - กรณีหัวหน้าฝ่ายงาน ระงับเหตุไม่ได้ ให้รายงานแพทย์เวรหรือแพทย์เจ้าของไข้ พิจารณาสั่งการระงับเหตุทางการแพทย์ หรือให้รายงานหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป พิจารณาสั่งการระงับเหตุด้านอื่น ๆ

- ผู้ประสบเหตุ เป็นผู้เขียนบันทึกอุบัติการณ์ รายงานหัวหน้าหน่วยงานทราบภายใน 24 ชั่วโมง
- กรณีมีผู้ประสบเหตุหลายคน ให้ผู้ที่เป็นหัวหน้าเวร เป็นผู้เขียนบันทึก
- กรณีเป็นคำร้องเรียน ผู้รับคำร้องเรียนเป็นผู้เขียนบันทึกอุบัติการณ์
- กรณีเป็นเรื่องที่อาจเกิดการฟ้องร้องหรือเสื่อมเสียชื่อเสียงของโรงพยาบาลหรือบุคคล ให้รายงานด้วยใบบันทึกอุบัติการณ์และเก็บรักษาในที่ปลอดภัย
- กรณีเหตุการณ์รุนแรงระดับGHIขึ้นไปหรือเป็นเหตุการณ์ที่เฝ้าระวังเป็นพิเศษ ให้มีการรายงานด้วยวาจาก่อนทันทีที่ทำได้ กรณีอุบัติการณ์มีความรุนแรงสูง ให้รายงานผู้อำนวยการทันที



  • อุบัติการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไรทั้งที่มีมาตรการป้องกันแล้ว
  • อุบัติการณ์นี้มีสาเหตุจากระบบหรือไม่ มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นอีกได้หรือไม่
  • สาเหตุราก หรือ รากเหง้าของปัญหา คืออะไร
- การทบทวนว่ากลยุทธ์ที่ใช้อยู่นั้นได้ผลดีหรือไม่ โดยการติดตามแนวโน้มของการเกิดอุบัติการณ์ การเกิดซ้ำ ความรุนแรง ติดตามแผนการแก้ไขปรับปรุงตามสาเหตุราก และตรวจสอบว่า มาตรการที่ใช้ป้องกัน เหมาะสมหรือไม่
- ตรวจสอบความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
- การประเมินผลเป็นการสะท้อนกลับ( feedback) ซึ่งจะก่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง หรือการแก้ไขกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว
- การหาสาเหตุราก

1. การจัดระบบป้องกันความผิดพลาด เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ ระงับการจ่ายยาที่ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยา การใช้ CareMap ในการสั่งการรักษาโรคที่มีรายละเอียดมาก เป็นต้น
2. การจัดการวิธีค้นหาความผิดพลาดเหล่านั้นให้ปรากฏเพื่อเราจะได้หยุดได้ทัน เช่น การตรวจซ้ำในเรื่องชนิด และขนาดของยาอันตรายที่จะให้ผู้ป่วย การรายงานอุบัติการณ์ความผิดพลาดโดยยังไม่เกิดอันตรายกับผู้ป่วย การทบทวนการดูแลผู้ป่วย เป็นต้น
3. การจัดระบบที่ลดความรุนแรงของความเสียหายแม้ความผิดพลาดดังกล่าวไม่สามารถหยุดได้ทันจนทำให้เกิดอุบัติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การเตรียม antidote ให้พร้อมใช้หากมีการใช้ยาอันตราย ผิดพลาด การเตรียมพร้อมเพื่อช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วย เป็นต้น


1. การลดการพึงพาความจำ เช่น การใช้ checklist, protocol, CPG, CareMap ในขั้นตอนที่เสี่ยงสูง หรือผิดพลาดได้ง่าย
2. การใช้ข้อมูลที่สะดวก เช่น การออกแบบเวชระเบียนที่สะดวกต่อการหาข้อมูลจำเป็นของผู้ป่วย การรายงานอุบัติการณ์ที่ไม่ยุ่งยาก
3. ระบบความป้องกันความผิดพลาด เช่น มีระบบที่แจ้งเตือน หรือระบบห้ามสั่งยาที่ผู้ป่วยแพ้
4. การปรับให้ระบบงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น การจัดทำวิธีปฏิบัติงาน
5. การฝึกอบรมให้บุคลากรมีความรู้อย่างเพียงพอในเรื่องที่จำเป็น เช่น การอบรมการบริหารความเสี่ยง การอบรมความรู้เรื่องโรคหรือหัตถการที่มีความเสี่ยงสูง
6. การทบทวนกระบวนการ เพื่อลดความซับซ้อน หรือขั้นตอน ทางเลือก เวลา
7. การลดความเสี่ยงหากมีความเปลี่ยนแปลงระบบ เช่น กำหนดข้อควรระวัง ทดลองปฏิบัติ ติดตามผลลัพธ์
8. การลดความเครียดในการทำงาน เช่น การจัดสิ่งแวดล้อมที่ช่วยลดความกังวล หรือเหนื่อยล้าเกินไป